ขอแสดงความยินดีกับ ดร.จำเรียง ธรรมธร ที่ได้รับทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” ประจำปี 2562

สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ขอแสดงความยินดีกับ ดร.จำเรียง ธรรมธร นักวิจัยเชี่ยวชาญ ห้องปฏิบัติการวิจัยเภสัชเคมี ในโอกาสได้รับรางวัลทุนวิจัยลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” ปีที่ 17 จากบริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด โดยพิธีรับรางวัลจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม 2562 เวลา 10.30 น. ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรม แกรนด์ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ

ดร.จำเรียง ธรรมธร ได้รับทุนวิจัยในสาขาวิทยาศาสตร์กายภาพจากงานวิจัยเรื่อง The synthesis of bioactive compounds and evaluation of their anticancer and antimalarial activities โดยเป็นงานวิจัยเพื่อศึกษาวิธีการสังเคราะห์สารที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเซลล์มะเร็งและการฆ่าเชื้อมาลาเรีย การศึกษาโครงสร้าง รวมถึงการพัฒนาสารอนุพันธ์จากสารสังเคราะห์ต้นแบบ เพื่อค้นหาศักยภาพในการพัฒนาเป็นยารักษาโรคต่อไป

โครงการทุนวิจัยลอรีอัล “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” เริ่มขึ้นในปี 2542 โดย ลอรีอัล ร่วมกับองค์กรยูเนสโก เพื่อให้การสนับสนุนและให้เกียรติแก่สตรีในสายงานวิทยาศาสตร์จากทั่วโลก ต่อมาในปี 2545 ลอรีอัล ประเทศไทย จึงได้ริเริ่มโครงการในระดับประเทศ โดยการสนับสนุนของสำนักเลขาธิการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่’สหประชาชาติ งานวิจัยที่นำเสนอเข้าร่วมโครงการจะได้รับการพิจารณา และคัดเลือกจากผู้ทรงคุณวุฒิสายงานวิทยาศาสตร์ระดับประเทศ โดยแบ่งสาขาทุนวิจัยออกเป็น 2 สาขา คือ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ และ สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สำหรับเกณฑ์ในการพิจารณานั้น กำหนดให้ต้องเป็นผลงานวิจัยอันสร้างประโยชน์แก่สังคม มีกระบวนการวิจัยที่ถูกต้องและเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของโครงการ รวมไปถึงจริยธรรมในการทำงานของนักวิจัย และต้องเป็นที่ยอมรับในวงการการวิจัยในสาขานั้นด้วย ขณะนี้มีนักวิจัยสตรีไทยได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการนี้แล้วจำนวน 65 ท่าน

16 ตุลาคม 2562

โครงการทุนวิจัยลอรีอัล “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” เริ่มขึ้นในปี 2542 โดย ลอรีอัล ร่วมกับองค์กรยูเนสโก เพื่อให้การสนับสนุนและให้เกียรติแก่สตรีในสายงานวิทยาศาสตร์จากทั่วโลก ต่อมาในปี 2545 ลอรีอัล ประเทศไทย จึงได้ริเริ่มโครงการในระดับประเทศ โดยการสนับสนุนของสำนักเลขาธิการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่’สหประชาชาติ งานวิจัยที่นำเสนอเข้าร่วมโครงการจะได้รับการพิจารณา และคัดเลือกจากผู้ทรงคุณวุฒิสายงานวิทยาศาสตร์ระดับประเทศ โดยแบ่งสาขาทุนวิจัยออกเป็น 2 สาขา คือ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ และ สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ สำหรับเกณฑ์ในการพิจารณานั้น กำหนดให้ต้องเป็นผลงานวิจัยอันสร้างประโยชน์แก่สังคม มีกระบวนการวิจัยที่ถูกต้องและเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของโครงการ รวมไปถึงจริยธรรมในการทำงานของนักวิจัย และต้องเป็นที่ยอมรับในวงการการวิจัยในสาขานั้นด้วย ขณะนี้มีนักวิจัยสตรีไทยได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการนี้แล้วจำนวน 65 ท่าน

แท็ก

แชร์

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ข่าวสารล่าสุด

ล่าสุด