เวลาทำการ : จันทร์ - ศุกร์ 9 a.m. - 5 p.m.

02 553 8555

02 553 8572

การแสดงผล
ห้องปฏิบัติการวิจัยพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม

ห้องปฏิบัติการวิจัยพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม

ห้องปฏิบัติการวิจัยพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม

ผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการวิจัย: ศ.เกียรติคุณ ดร.คุณหญิงมธุรส รุจิรวัฒน์

  มลพิษจากสารเคมีในสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และการเกิดโรคในหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประมาณการณ์ไว้ว่า 24% ของการเกิดโรคทั่วโลกและประมาณ 23% ของการเสียชีวิตทั้งหมดมีสาเหตุมาจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งการเสียชีวิตของประชากรราว 13 ล้านคนต่อปีสามารถป้องกันได้ด้วยการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น องค์การอนามัยโลกยังประเมินว่าประมาณร้อยละ 19 ของโรคมะเร็งทั้งหมดมีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อม

  การวิจัยด้านพิษวิทยาต่อสิ่งแวดล้อมจึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ซึ่งผลงานวิจัยสามารถระบุประเด็นปัญหาสำคัญที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขเพื่อลดผลกระทบจากการใช้สารเคมี การศึกษาทางด้านพิษวิทยาสิ่งแวดล้อมจึงได้รับความสนใจและตระหนักรู้มากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งต่อแวดวงนักวิทยาศาสตร์และสาธารณชน เนื่องจากการตระหนักถึงอันตรายของสารเคมีและมลพิษรวมถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆเป็นปัจจัยสำคัญต่อภาวะสุขภาพของมนุษย์ ตลอดจนจำนวนผลงานวิจัยที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆได้บ่งชี้ถึง ผลกระทบที่ชัดเจนของมลพิษในสิ่งแวดล้อมต่อการเปลี่ยนแปลงทางชีวโมเลกุล และพยาธิสภาพต่างๆในร่างกายที่ส่งผลต่อสุขภาพ

  ห้องปฏิบัติการวิจัยพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ จึงมุ่งเน้นการวิจัยทางด้านมลพิษในสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ การวิจัยดำเนินการด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ครอบคลุมตั้งแต่การวัดการรับสัมผัสสารเคมีในสิ่งแวดล้อม การประเมินการรับสัมผัสเข้าสู่ร่างกายและผลกระทบทางชีวภาพระยะแรกที่สามารถเชื่อมโยงกับการพัฒนาการของโรค สารมลพิษที่ทำการศึกษาได้แก่ สารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมและอาหาร เช่นสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย ยาฆ่าแมลง โลหะอันตราย และสารพิษอื่นๆที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชากร โดยเฉพาะประชากรกลุ่มเสี่ยง เช่นเด็ก หญิงมีครรภ์ และทารก ที่อาจได้รับสัมผัสสารเคมีตั้งแต่ในครรภ์ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีวโมเลกุลในระยะเริ่มต้นที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคได้ในภายหลัง ผลการศึกษาที่สามารถนำไปสู่การระบุได้ถึงแหล่งที่มาของการรับสัมผัสและกลไกการเกิดโรค ทั้งหมดนี้จะนำไปสู่มาตรการในการป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดโรคเพื่อประโยชน์สูงสุดในการพัฒนาคุณภาพชีวิต

ดูทั้งหมด

งานวิจัยและงานวิชาการ

Research goals
ผลกระทบของการสัมผัสกับมลพิษทางอากาศที่เป็นพิษต่อพันธุกรรมในประชากรกลุ่มเสี่ยง
ผลกระทบต่อสุขภาพจากการได้รับสารหนูในครรภ์
การศึกษาปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี

ติดต่อ

ห้องปฏิบัติการวิจัยพิษวิทยาสิ่งแวดล้อม

สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

ชั้น 2 อาคารวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์

54 ถนนกำแพงเพชร 6 แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210

โทรศัพท์

0 2553 8555
ต่อ 8232

อีเมล

[email protected]

แจ้งไฟล์เสีย
File Broken

profile

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า .

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า