การประชุมพิจารณาการก่อสร้างสะพานลอยคนข้าม เพื่อความปลอดภัยของบุคลากรและชุมชนใกล้เคียงสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์

30 มี.ค. 2564
0

สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เล็งเห็นถึงความปลอดภัยของบุคลากรและประชาชนในชุมชมใกล้เคียง จากการเดินสัญจรข้ามไปมาบนทางรถไฟสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร 6 เนื่องจากมีการเกิดอุบัติเหตุมากขึ้น จึงได้เสนอ แนวทางการแก้ไขปัญหาการสัญจรทางเท้าด้วยการเชื่อมต่อสะพานลอยคนข้ามถนนวิภาวดีข้ามถนนกำแพงเพชร 6 และทางรถไฟสายเหนือ และมาลงบริเวณหน้าปากซอยเปรมสุขสันต์ ซึ่งอยู่ระหว่างสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์และโรงแรมมิราเคิล

โดยเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2564 รองศาสตราจารย์ ดร. ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล รองประธานกรรมการบริหาร สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และรองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ฝ่ายบริหารและอาคารสถานที่ ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมหารือ และพิจารณาการก่อสร้างสะพานลอย ดังกล่าว ณ ห้องประชุม ชั้น 1 อาคารศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ โดยมี พลเอก ชาญ บุญประเสริฐ รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมจำนวน 9 หน่วยงาน ได้แก่

  • สำนักงานเขตหลักสี่
  • แขวงทางหลวงกรุงเทพ
  • สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร
  • สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร
  • การรถไฟแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
  • บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด
  • บริษัท อิตาเลี่ยนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จํากัด (มหาชน)
  • บริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด

โดยเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2564 รองศาสตราจารย์ ดร. ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล รองประธานกรรมการบริหาร สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และรองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ฝ่ายบริหารและอาคารสถานที่ ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมหารือ และพิจารณาการก่อสร้างสะพานลอย ดังกล่าว ณ ห้องประชุม ชั้น 1 อาคารศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ โดยมี พลเอก ชาญ บุญประเสริฐ รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมจำนวน 9 หน่วยงาน ได้แก่

  • สำนักงานเขตหลักสี่
  • แขวงทางหลวงกรุงเทพ
  • สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร
  • สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร
  • การรถไฟแห่งประเทศไทย
  • สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
  • บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด
  • บริษัท อิตาเลี่ยนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จํากัด (มหาชน)
  • บริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด

จากการประชุมดังกล่าว ในเบื้องต้นสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร พร้อมจะเป็นผู้ออกแบบสะพานลอยให้ แต่เนื่องจากพื้นที่บางส่วนเป็นกรรมสิทธิ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย และแขวงทางหลวงกรุงเทพ ซึ่งไม่ใช่เป็นของกรุงเทพมหานครทั้งหมด ทำให้ติดปัญหาการจัดสรรงบประมาณในการก่อสร้าง ดังนั้น จึงยังไม่ได้ข้อสรุปในการเป็นเจ้าภาพดำเนินการในการของบประมาณก่อสร้าง โดยสถาบันฯ จะต้องพิจารณาดำเนินการจัดหางบประมาณต่อไป

จากนั้น รองศาสตราจารย์ ดร.ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล รองประธานกรรมการบริหารสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และรองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ฝ่ายบริหารและอาคารสถานที่ และ พลเอก ชาญ บุญประเสริฐ รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ ได้เดินสำรวจพื้นที่อีกครั้งภายหลังการประชุมพิจารณาการก่อสร้างสะพานลอยคนข้ามดังกล่าว

30 มีนาคม 2564

แท็ก

แชร์

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ล่าสุด

ข่าวสารล่าสุด

ล่าสุด